วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558


อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ
อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง
ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน

ประวัติและวิวัฒนาการ[แก้]

ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชรียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด
อักษรมอญและอักษรขอมที่เรานำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียนอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป
ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญและเขมรที่มีอยู่เดิม (ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น) ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน
อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ญ ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว ฎ และ ธ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด

อักษรไทย[แก้]

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั–ํ–ิ'"
–ุ–ู–็
ฤๅฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่–้–๊–๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์–๎–ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

พยัญชนะ[แก้]

พยัญชนะไทยมี 44 รูป แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค เสียงอ่านที่กำกับไว้คือเสียงเมื่อเป็นพยัญชนะต้น
วรรคฐานกรณ์กักสิถิลกักธนิตหรือเสียดแทรกนาสิก
วรรค กะเพดานอ่อน ไก่
[k]
 ไข่
[kʰ]
 ขวด¹
[kʰ]
 ควาย
[kʰ]
 คน¹
[kʰ]
 ระฆัง
[kʰ]
 งู
[ŋ]
วรรค จะเพดานแข็ง จาน
[t͡ɕ]
 ฉิ่ง
[t͡ɕʰ]
 ช้าง
[t͡ɕʰ]
 โซ่
[s]
 เฌอ
[t͡ɕʰ]
 หญิง
[j]
วรรค ฏะปุ่มเหงือก ชฎา
[d]
 ปฏัก
[t]
 ฐาน
[tʰ]
 มณโฑ
[tʰ]/[d]
 ผู้เฒ่า
[tʰ]
 เณร
[n]
วรรค ตะ เด็ก
[d]
 เต่า
[t]
 ถุง
[tʰ]
 ทหาร
[tʰ]
 ธง
[tʰ]
 หนู
[n]
วรรค ปะริมฝีปาก ใบไม้
[b]
 ปลา
[p]
 ผึ้ง
[pʰ]
 ฝา
[f]
 พาน
[pʰ]
 ฟัน
[f]
 สำเภา
[pʰ]
 ม้า
[m]
ไตรยางศ์กลางสูงต่ำ
วรรคเปิดหรือรัวเสียดแทรกเปิดข้างลิ้น
ปุ่มเหงือก
กัก
เส้นเสียง
เสียดแทรก
เส้นเสียง
เศษวรรค ยักษ์
[j]
 เรือ
[r]
 ลิง
[l]
 แหวน
[w]
 ศาลา
[s]
 ฤๅษี
[s]
 เสือ
[s]
 หีบ
[h]
 จุฬา
[l]
 อ่าง²
[ʔ]
 นกฮูก
[h]
ไตรยางศ์ต่ำสูงต่ำกลางต่ำ
  1. ฃ และ ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว
  2. อ ถือว่าเป็นเสียงว่างให้รูปสระมาเกาะ
พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

สระ[แก้]

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง (ดูที่ ภาษาไทย)

วรรณยุกต์[แก้]

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง
คำทุกคำในภาษาไทยจะมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ว่าจะไม่มีรูปวรรณยุกต์แสดงให้เห็นก็ตาม
รูป 
  •  ่ ไม้เอก
  •  ้ ไม้โท
  •  ๊ ไม้ตรี
  •  ๋ ไม้จัตวา
เสียง 
  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอก
  • เสียงโท
  • เสียงตรี
  • เสียงจัตวา

ตัวเลข[แก้]

ดูบทความหลักที่: เลขไทย
ตัวเลขที่เป็นอักษรไทย เรียกว่าเลขไทย มีลักษณะดังนี้
๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
วิธีการบอกจำนวนใช้ระบบประจำหลักเหมือนกับตระกูลเลขฮินดู-อารบิกอื่น ๆ

เครื่องหมายวรรคตอน[แก้]

รหัสยูนิโคดสำหรับอักษรไทย[แก้]

ช่วงรหัสยูนิโคด (Unicode) ของอักษรไทย คือ U+0E00 ถึง U+0E7F
ไทย
Unicode.org chart (PDF)
 0123456789ABCDEF
U+0E0x 
U+0E1x
U+0E2x
U+0E3x    ฿
U+0E4x
U+0E5x    
U+0E6x                
U+0E7x               





กำเนิดแบบอักษรไทย
            ท่านผู้รู้นักประวัติศาสตร์หลายท่าน คาดกันว่า เริ่มจากแบบอักษรคฤนถ์ของอินเดียใต้ ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นอักษรขอม อักษรขอมนี้นำมาเขียนภาษาบาลี สันสกฤตได้สะดวก แต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเห็นว่าการนำมาเขียนเป็นภาษาไทยนั้นไม่สะดวก เพราะไม่มีวรรณยุกต์เป็นเครื่องหมายกำหนดเสียงสูงต่ำและมีสระน้อย ไม่เพียงพอจะเขียนภาษาไทยได้ตามต้องการ  พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริแก้ไขแบบอักษรเสียใหม่ให้เป็นลักษณะอักษรไทย (ซึ่งถ้าสังเกตถ้อยคำในศิลาจารึก จะเห็นคำว่า"นี้" อยู่ต่อคำว่า "ลายสือ" ทุกแห่ง คงจะมีความหมายว่าตัวอักษรแบบนี้ยังไม่เคยมี)   พระองค์ทรงแก้รูปตัวอักษรให้เขียนได้รวดเร็วกว่าอักษรขอม ทั้งสระและพยัญชนะก็จะเขียนอยู่ในบรรทัดเดียวกัน  
          แม้ว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจะมิได้เป็นผู้ทรงประดิษฐ์รูปอักษรขึ้นโดยพระองค์เองก็ตาม (๑)  การที่พระองค์ทรงแก้ไขตัวอักษรเสียใหม่ในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น นับเป็นการสำคัญ เป็นการพัฒนาต่อยอดทางความคิด คือ การนำภูมิความรู้ทั้งหลายที่มีอยู่เดิมในขณะนั้นมาพัฒนาให้เกิดความเหมาะสม ให้มีความสะดวกในการจารึกและอ่าน อีกทั้งเสียงที่ใช้นั้นก็มีความครบถ้วนตามลักษณะเสียงที่ใช้ในภาษาไทย  สิ่งนี้นับเป็นคุณประโยชน์อย่างมหาศาล เป็นวิวัฒนาการ อันทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางความรู้และวิทยาการในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง     แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพในเชิงภาษาศาสตร์และความเป็นนักปราชญ์ของพระองค์    
          ครั้นล่วงรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว จะเป็นระยะเวลานานเท่าใดไม่ปรากฏแน่ชัด มีผู้แก้ไขกลับไปใช้คุณลักษณะบางอย่างตามแบบหนังสือขอม ซึ่งมีสระอยู่ข้างหน้าพยัญชนะบ้าง อยู่ข้างหลังพยัญชนะบ้าง อย่างเช่นใช้ในแบบหนังสือไทยมาจนทุกวันนี้
          ตัวอักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดค้นขึ้นนี้ ได้มีผู้นำไปใช้กันแพร่หลายต่อไปในประเทศใกล้เคียงในสมัยนั้น  เช่น ในล้านช้าง ล้านนา และประเทศข้างฝ่ายใต้ของอาณาจักรสุโขทัย คือ กรุงศรีอยุธยา  



ลักษณะของตัวอักษรไทย

 
สระ ๒๐ ตัว 
วรรณยุกต์ ๒ รูป  ตัวเลข ๖ ตัว
 
พยัญชนะ ๓๙ ตัว
          ท่านผู้รู้บางท่านได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอีกนัยหนึ่งว่า จากการดูที่เหตุผลแวดล้อม พยัญชนะไทยน่าจะมีครบทั้ง ๔๔ ตัวตั้งแต่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว  ทางขอมได้ภาษาบาลี-สันสกฤตเป็นครู มีพยัญชนะจำนวน ๓๓ ตัวเท่ากับภาษาบาลี  พ่อขุนรามคำแหงได้แบบอย่างจากขอมและอินเดีย ครั้งแรกนั้นคงเป็นพยัญชนะ ๓๔ ตัว (ตัดนิคหิต ออก ๑ ตัว แต่พระองค์ได้นำมาใช้แทนตัว ม อย่างสันสกฤตและขอม) ต่อมาพระองค์อาจจะทรงคิดค้นเพิ่มเติมอีก ๑๐ ตัว ที่เรียกว่า "พยัญชนะเติม" เพื่อให้เสียงพอใช้ในภาษาไทย 
          พยัญชนะเติม ๑๐ ตัวคือ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ ฮ     จะเห็นว่าพยัญชนะเหล่านี้ได้เพิ่มเข้ามาจากพยัญชนะวรรคมีเสียงที่พ้องกัน เช่น 
                    ฃ พ้องเสียงกับ ข  
                    ฅ พ้องเสียงกับ ค 
          ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ตัวอักษรนี้คงออกเสียงเป็นคนละหน่วยเสียงกัน  แต่ ฃ กับ ฅ คงจะออกเสียงได้ยากกว่า เราจึงรักษาเอาไว้ไม่ได้ มีอันต้องสูญไปอย่างน่าเสียดาย (๒)  เหตุผลคือ ถ้าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน พระองค์จะไม่ทรงคิดเสียงซ้ำกัน  เช่นนั้น ฃ กับ ข และ ฅ กับ ค จึงน่าจะเป็นคนละหน่วยเสียงกันเช่นเดียวกับภาษาบาลี สันสกฤต ที่ออกเสียงพยัญชนะวรรคตะ ต่างกับเสียงพยัญชนะวรรคฏะ  แต่เมื่อเรารับเข้ามาใช้ เราออกเสียงอย่างเขาไม่ได้ เราจึงออกเสียงเหมือนกัน เช่นเดียวกับ ตัว ส,ษ,ศ ก็เช่นเดียวกัน เขาออกเสียงต่างกันแต่เราออกเสียงเหมือนกันหมด  เสียงใดที่ออกยากย่อมสูญได้ง่าย 



 
สิ่งที่น่าเป็นห่วง
          ตามคำกล่าวข้างต้น เสียงที่น่าเป็นห่วงในปัจจุบัน เช่น
  • เสียง "ร" เพราะออกเสียงได้ยากกว่าเสียง "ล" นักเรียนในปัจจุบันมักจะออกเสียง "ร" ไม่ค่อยได้เพราะต้องกระดกลิ้น  
  • เสียง "ท" ที่ปัจจุบันมีผู้นิยมออกเป็นเสียง "ธ" ตามอย่างนักร้องที่มักออกเสียง "ท" เป็นเสียง "ธ" 
          ปัจจุบันนี้ เราหาผู้เชี่ยวชาญในการออกเสียงให้มีความชัดเจนแตกต่างจากกัน เพื่อเป็นผู้สอนการออกเสียงให้แก่นักเรียนนักศึกษาได้ยาก  จึงเป็นที่น่าห่วงว่าหากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์การออกเสียงเหล่านี้เอาไว้ สักวันหนึ่งเสียงต่างๆ เหล่านี้อาจจะสูญไปได้เช่นเดียวกัน

ธนกร ช่อไม้ทอง : เรียบเรียง (๑) หนังสือพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และรวมเรื่องเมืองสุโขทัย กรมศิลปากร
(๒) เลิกใช้เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๐ ต่อมาเกิดพจนานุกรมฉบับ ปีพระพุทธศักราช ๑๓๙๓ จึงได้ประกาศเลิกใช้อย่างเป็นทางการ   




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น